วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การดูแลลูกแมว










 ลูกแมวในช่วงอายุ 1 สัปดาห์แรก จะเป็นช่วงที่ลูกแมวอ่อนแอมาก และเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการดูแลเอาใจใส่จากแม่แมวในแง่ของการปกป้อง ความอบอุ่นและอาหาร
 90 % ของลูกแมวจะใช้เพื่อการนอน และเก็บสะสมความร้อน10%  ลูกแมวจะใช้เพื่อการกิน

 น้ำหนักแรกเกิดของลูกแมว
 ลูกแมวที่สมบูรณ์ควรมีน้ำหนักแรกเกิดประมาณ 90-100 กรัม และน้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าใน 1 สัปดาห์ และน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอีก 30 กรัมต่อวัน จึงจะเป็นแมวที่มีสุขภาพแข็งแรง

        สิ่งที่สำึคัญสำหรับลูกแมวแรกเกิด
1.น้ำนมเหลือง
2.อุณหภูมิ
       น้ำนมเหลือง
-น้ำนมเหลืองเป็นโปรตีนที่มีคุณสมบัติเป็นภูมิคุ้มกันของร่างกายจึงป้องกันลูกแมวจากการเจ็บป่วย
-น้ำนมเหลืองจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายในช่วง 24-36 ชม. หลังคลอด
-ปริมาณที่ลูกแมวจะได้รับขึ้นอยู่กับปริมาณภูมิคุ้มกันในกระแสเลือดของแม่แมว

 อุณหภูมิ
-อุณหภูมิของลูกแมวอายุ 1 วัน จะอยู่ระหว่ง 33-36 ํC
-สำหรับลูกแมวที่มีอายุ 2-21 วัน อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 33.5-37.5 ํC
-ลูกแมวแรกเกิดจะไม่สามารถรักษาอุณหภูมิของร่างกายไว้ได้ เพราะการทำงานที่ไม่สมบูรณ์ของหลอดเลือด ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ลูกแมวจะต้องได้รับความอบอุ่นจากแม่แมว
-สำหรับลูกแมวที่แม่แมวไม่เลี้ยง การใช้หลอดไปขนาด 60 วัตต์ เปิดห่างจากตัวแมว 2-5 ฟุต ก็สามารถสร้างความอบอุ่นที่เพียงพอได้

 การดูแลในภาวะฉุกเฉิน
 อันตรายจากความหนาวเย็น
-สิ่งที่เป็นอันตรายมากที่สุด คือ ความหนาวเย็น
-การที่ลูกแมวแรกเกิดต้องเผชิญกับความเย็น จะทำให้อุณหภูมิของลูกแมวตกลง
-หากลูกแมวมีอุณหภูมิของร่างกายต่ำลง ก็จะเป็นผลทำให้ปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดตกลงด้วย และท้่ายที่สุดแล้วจะเป็นผลทำให้อวัยวะภายในต่าง ๆ หยุดการทำงาน

 อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม
-ในสัปดาห์แรกของลูกแมว อุณหภูมิที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่าง 30-32 ํC
-และอุณหภูมิจะลดลง 5 ํC ในทุก ๆ สัปดาห์ จนกระทั่งถึง 22 ํC
-ห้ามให้อาหารที่มีอุณหภูมิต่ำหรือเย็นกับลูกแมวโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ลูกแมวตายได้

 การดูแลทางด้านโภชนาการ
-สำหรับลูกแมวแรกเกิดนั้น ปริมาณไขมันสะสมในบริเวณชั้นใต้ผิวหนังจะมีเพียงเล็กน้อย ดังนั้นการให้อาหารลูกแมวจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้บ่อย ๆ เพื่อเป็นการรักษาระดับน้ำตาลในกระแสเลือดและให้พลังงานแ่ก่ลูกแมวอย่างเพียงพอ
-เนื่องจากในลูกแมวแรกเกิด การทำงานของไต ยังไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นอาหารที่ให้ควรเป็นสูตรที่เหมาะสมกับลูกแมว เพื่อลดการทำงานของไต
-การแบ่งอาหารเป็นหลาย ๆ มื้อใน 1 วัน สำหรับลูกแมวจะเป็นการช่วยการทำงานที่หนักเกินไปของไต และระบบทางเดินอาหาร

 น้ำนมวัว
-น้ำนมวัวจะไม่เหมาะสมกับลูกแมวแรกเกิดด้วยเหตุผลหลายประการ เช่นปริมาณของแคลเซียม ฟอสฟอรัส และปริมาณของแลคโตส มีระดับที่สูงเกินความต้องการของลูกแมวแรกเกิดระดับของพลังงาน ไขมัน และโปรตีน ในน้ำนมวัว มีระดับที่ต่ำเกินไป ไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกแมวจำนวนครั้งต่อการให้อาหารต่อวันอายุแมว (สัปดาห์)จำนวนครั้งต่อการให้อาหาร (วัน)

        วิธีการให้อาหารแมวแรกเกิด

ในแมวแรกเกิด มีวิธีการให้อาหาร 2 แบบ
 1. ขวดนม
 2. หลอดอาหาร

 การให้อาหารด้วยขวดนม
-ให้อุ่นอาหารให้มีอุณหภูมิประมาณ 37 ํC จะรู้สึกอุ่นหากทานบริเวณข้อมือ
-ต้องให้แน่ใจว่า ขนาดของรูหัวนมใหญ่พอที่จะให้น้ำนมไหลอย่างสะดวก
-พยายามเอียงขวดนมให้ขณะแมวดูดไม่เกิดฟองอากาศขึ้น
-กระตุ้นการดูดนมของลูกแมว โดยการดึงขวดนมออกเบา ๆ
-ห้ามบีบขวดนมเพื่อเร่งการไหลของน้ำนมโดยเด็ดขาด
-หากพบมีฟองนมบริเวณปากของลูกแมวแสดงถึงลูกแมวอิ่ม

 การให้อาหารแบบหลอดอาหาร
-การให้อาหารแบบหลอดเหมาะกับแมวขนาดเล็ก อ่อนแอ และป่วย ซึ่งไม่สามารถดูดนมได้ด้วยตนเอง แต่วิธีนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ทำต้องมีความชำนาญ และรู้วิธีการทำงานอย่างถูกต้อง เพราะหากทำไม่ถูกวิธี อาจเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะปอดบวม เนื่องจากอาหารจนลูกแมวเสียชีวิตได้

 วิธีการให้อาหารแบบหลอด

มีความจำเป็นที่ต้องทำตามขั้นตอน
1.ใช้หลอดสำหรับให้อาหารสัตว์ขนาดเลี้ยงและเหมาะสม
2.วัดระยะความยาวจากกระดูกซี่โครงซี่สุดท้ายจนถึงปลากปาก
3.ทำเครื่องหมายกำหนดจุดความยาว
4.อุ่นอาหารให้มีอุณหภูมิปริมาณ 37 ํC
5.หล่อลื่นหลอดอาหารด้วยน้ำที่จะให้แก่ลูกแมว
6.จับลูกแมวให้อยู่ในระดับตั้งตรง
7.สอดหลอดอาหารให้หลอดอาหารอยู่บนลิ้น
8.ดันหลอดอาหารจนกระทั่งถึงจุดที่วัดระยะไว้
9.ฉีดอาหารเข้าทางหลอดอาหารอย่างช้า ๆ

 ข้อควรระวังในการให้อาหารแบบหลอด    ดูวีดีโอการให้อาหารทางสายยาง
-ปริมาณอาหารที่ให้ต้องตรงกับความต้องการของลูกแมว ไม่มากเกินความจุของกระเพาะอาหาร เพราะอาจทำให้แมวสำรอกอาเจียร และเกิดปัญหาปอดบวมในที่สุด
-หากแมวแสดงอาการหายใจลำบาก ให้นำหลอดอาหารออก แล้วสอดใหม่อีกครั้ง
-หากขณะสอดหรือรู้สึกฝืดติดให้ถอยหลอดอาหารแล้วสอดใหม่อีกครั้ง
-หากขณะสอดลูกแมวร้องขึ้น แสดงว่าหลอดอาหารที่สอดเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร
-การให้อาหารแบบหลอด อาจทำให้ลูกแมวเกิดพฤติกรรมชอบดูดอวัยวะของแมวตัวอื่น ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแยกออกจากตัวอื่นหากพบพฤติกรรมดังกล่าว


 พัฒนาการของฟันในลูกแมวอายุตั้งแต่ 1-4 เดือน

ฟันน้ำนม

 3 สัปดาห์ - ฟันหน้า พันเขี้ยว

 4 สัปดาห์ - ฟันกราม

 6 สัปดาห์ - ฟันน้ำนมขึ้นครบ และจะเปลี่ยนเป็นฟันแท้เมื่ออายุครบ 4 เดือน

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ข้อมูลเบื้องต้นของแมว







แมว หรือ แมวบ้าน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Felis catus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในตระกูล Felidae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับสิงโตและเสือดาว ต้นตระกูลแมวมาจากเสือไซบีเรียน (Felis tigris altaica) ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นแมวพันธุ์แท้หรือแมวพันธุ์ทาง
แมวเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 9,500 ปีก่อน ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแมวคือการทำมัมมี่แมวที่ค้นพบในสมัยอียิปต์โบราณ หรือในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในกรุงลอนดอน มีการแสดงสมบัติที่นำออกมาจากปิรามิดโบราณแห่งอียิปต์ ซึ่งรวมถึงมัมมี่แมวหลายตัว ซึ่งเมื่อนำเอาผ้าพันมัมมี่ออกก็พบว่า แมวในสมัยโบราณทุกตัวมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือเป็นแมวที่มีรูปร่างเล็ก ขนสั้นมีแต้มสีน้ำตาล มีความคล้ายคลึงกับพันธุ์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าแมวอะบิสสิเนียน